.........................

ประวัติ

อาเซียนเริ่มต้นจากไหน 
   
           อาเซียน มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ค. ปี พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซีย
    ต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้นจึงมีการมองหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในสมัยรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม ปฏิญญากรุงเทพฯที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) จาก คำประกาศอาเซียน (ASEAN Declaration) ซึ่งลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่
          นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการะทรวงการต่างประเทศอินโดนิเซีย
          ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
          นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
          นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงค์โปร์
           และ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ .2527 (ค.ศ.1984) ประเทศบรูไนดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก และมีเวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา เข้ามาเป็นสมาชิกตามลำดับ
อาเซียนมีสมาชิกมีประเทศสมาชิกได้แก่
           อาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ  ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนิเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์  ไทย และเวียดนาม



วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน 
           
            วัตถุประสงค์สำหรับอาเซียน 7 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ